เมนู

5. สารสูตร



ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งบทธรรม



[1040] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่น
ดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่
แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท
คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดของบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็น
ไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1041] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง
จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่า
นั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
[1042] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ
สัทธินทรีย์... วิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์
เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.
[1043] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง
จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่า
นั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบสารสูตรที่ 5

สารสูตรที่ 5 มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

6. ปติฏฐิตสูตร



ว่าด้วยธรรมอันเอก



[1044] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ธรรมอันเอกเป็นไฉน คือ ความไม่
ประมาท.
[1045] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ประมาทเป็นไฉน ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตไว้
ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
แม้ปัญญินทรีย์ ก็ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.
[1046] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
ธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว แม้ด้วยประการฉะนั้นแล.
จบปติฏิฐิตสูตรที่ 6

อรรถกถาปติฏฐิสูตร



ปติฏฐิตสูตรที่ 6.

คำว่า ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรม
ที่มีอาสวะ
คือ ผู้ปรารภธรรมที่เป็นไปในสามภูมิแล้วห้ามการเกิดขึ้นแห่ง
อาสวะ ชื่อว่าย่อมรักษาในสิ่งที่เป็นอาสวะและที่ประกอบด้วยอาสวะ.
จบอรรถกถาปติฏฐิตสูตรที่ 6